www.facebook.com/kuunepage

..... คูเน่ คู่ครัว คู่มื้อสุขภาพ คู่คุณ

คูเน่ นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรส จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพ

.

Search This Blog

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา
อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

Sunday, May 31, 2015

ควรใส่ชุดใหม่ที่ซื้อมาทันที หรือควรจะซักก่อน? แพทย์โรคผิวหนังมีคำตอบ

รายงานจาก Wall Street Journal ระบุ 3 เหตุผลที่ควรซักชุดใหม่ก่อนใส่เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อผิวหนัง

Woman looking through clothes in shopping mall

ดร. Donald Belsito แพทย์ด้านผิวหนังที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Columbia อธิบายว่าทำไมเราจึงควรซักผ้าที่ซื้อมาใหม่ก่อนที่จะนำมาสวมใส่ ด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อด้วยกัน
ข้อแรกคือ 'สารเคมี' หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าเสื้อผ้าที่เพิ่งซื้อมาใหม่ๆหมาดๆนั้น อาจเดินทางผ่านมาแล้วหลายประเทศ คืออาจจะทอขึ้นในประเทศหนึ่ง ย้อมในอีกประเทศหนึ่ง แล้วนำไปเย็บในอีกประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะนำส่งขายทั่วโลก ซึ่งแต่ละประเทศนั้นก็มีกฏหมายเรื่องการใช้สารเคมีในการผลิตเสื้อผ้าแตกต่างกันไป ทั้งสีย้อมผ้า ยาฆ่าเชื้อและยากำจัดกลิ่นประเภทฟอร์มาลดีไฮน์ 
สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในเสื้อผ้าและอาจทำให้เกิดอาการแพ้ตามผิวหนัง ทำให้คัันหรือเป็นผื่นแดงตามผิวส่วนที่สัมผัสกับเนื้อผ้า รายงานของรัฐบาลสหรัฐฯชี้ว่าเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่วางขายในอเมริกา มีระดับสารฟอร์มาลดีไฮน์สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้มาก
ดร.Belsio บอกว่าสารเคมีในสีย้อมผ้านั้นส่วนใหญ่ไม่สามารถชำระออกได้จากการซักเพียงครั้งเดียว ดังนั้นคนที่แพ้ง่ายจึงควรซักเสื้อผ้าใหม่หลายครั้งก่อนนำมาใส่
ข้อที่สองคือ 'เชื้อโรคและแมลงที่ไม่ได้รับเชิญ' ดร.Belsio บอกว่าเสื้อผ้าที่เพิ่งซื้อมาใหม่ อาจผ่านมือคนมากมาย ผ่านการลองสวมมาแล้วหลายครั้ง ทำให้ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามีเชื้อโรคปะปนในชุดมากมายแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีหลายกรณีที่มีผู้ติดเหาจากการลองชุดในรา้นเสื้อผ้ามาแล้ว
ข้อที่สามคือ 'ความอับชื้นและเชื้อรา' เนื่องจากประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความชื้นปะปนใเสื้อผ้าที่บรรจุในลังหรือกล่องซึ่งเตรียวส่งออกไปประเทศต่างๆ นั่นเป็นที่มาของเชื้อราในเสื้อผ้า และถึงแม้โรงงานผู้ผลิตได้ใส่สารดูดความชื้นไปกับลังเสื้อผ้า ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเชื้อราจะหายไป
ที่สำคัญสารดูดความชื้นบางชนิดคือตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ตามผิวหนังอย่างรุนแรง
ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือต้องซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกชิ้นทุกตัวก่อนสวมใส่ เพื่อล้างสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกไป
รายงานจาก Wall Street Journal / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล 
ที่มา : http://www.voathai.com/content/new-clothes-washing/2779020.html

งานวิจัยชี้บนเครื่องบินคือแหล่งสะสมเชื้อโรคมากมายหลายชนิด พร้อมแนะวิธีป้องกัน

รายงานชี้ว่ากระเป๋าเดินทางแต่ละใบสามารถสัมผัสกับแบคทีเรียได้มากถึง 80 ล้านตัวก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางใครเดินทางด้วยเครื่องบินบ่อยๆ แล้วพบว่าตนเองมักป่วยเป็นหวัด คดจมูก น้ำมูกไหล นั่นอาจไม่ใช่เพราะอากาศที่เปลี่ยนไปในแต่ละประเทศ แต่อาจเกิดจากเชื้อโรคที่ปะปนในเครื่องบินที่โดยสารไป



รายงานของบริษัท Aquaint ผู้ผลิตแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ระบุว่ายานพาหานะขนส่งมวลชนคือแหล่งรวบรวมเชื้อโรคมากมายหลายชนิด รวมทั้งตามเครื่องบินและสนามบินต่างๆ โดยแหล่งที่มาของแบคทีเรียหรือเชื้อโรคคือกระเป๋าเดินทาง
รายงานชี้ว่า กระเป๋าเดินทางแต่ละใบสามารถสัมผัสกับแบคทีเรียได้มากถึง 80 ล้านตัวก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง
รายงานการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ของ Today Show ระบุเช่นกันว่า เชื้อโรคหลายชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อี-คอไล หรือโรคติดต่อร้ายแรงอย่าง MRSA ต่างพบอยู่ตามสนามบินและบนเครื่องบินหลายลำ นอกจากนี้ ธนบัตรต่างๆจากหลายประเทศที่และเปลี่ยนตามสนามบิน ก็มีเชื้อโรคหลายล้านตัวปะปนอยู่เช่นกัน
รายงานของ Aquaint แนะนำ 4 วิธีในการป้องกันเชื้อโรคบนเครื่องบิน
วิธีแรกคือให้พยายามทำความสะอาดสิ่งของทุกชิ้นที่ใช้บนเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นถาดอาหาร ที่วางแขน หรือเข็มขัดนิรภัย รวมทั้งทำความสะอาดมือของตนเองบ่อยๆ
วีธีที่สอง ให้นำหมอนหรือผ้าห่มขึ้นเครื่องไปด้วย เนื่องจากหมอนและผ้าห่มบนเครื่องบินไม่ได้ซักกันบ่อยๆ จึงผ่านผู้โดยสารมาหลายคนก่อนมาถึงคุณ
วิธีที่สาม พยายามอย่าเดินไปไหนมาไหนบนเครื่องบินด้วยเท้าเปล่า เพราะพรมและพื้นเครื่องบินนั้นเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก
วิธีที่สี่ พยายามดื่มน้ำบ่อยๆอย่าให้ขาดน้ำจนปากแห้ง ผิวแห้ง เพราะรายงานของ Mayo Clinic บอกไว้ว่าอาการขาดน้ำนั้นทำให้ร่างกายเรารับเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ใช้สเปรย์ฉีดจมูกบ่อยๆ เพื่อให้โพรงจมูกและลำคอมีของเหลวหล่อลื่นอยู่เสมอ ช่วยป้องกันแบคทีเรียได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา : http://www.voathai.com/content/germs-on-plane/2788620.html

Tuesday, May 5, 2015

งานประชุมวิชาการนักกำหนดอาหาร 27 - 28 เมษายน 2558


อาหารบำบัดโรค เมนูวันนี้ คัดสรรที่คุณค่าด้วยโภชนาการที่เหมาะสม


งานประชุมวิชาการนักกำหนดอาหาร 27 - 28 เมษายน 2558 โภชนากรประจำโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าร่วม จัดโดย ผศ.ดร. ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคม ซึ่งคุณพัชรวีร์ ทันละกิจ เลขานุการเป็นประสานงาน ให้การสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพโซเดียมต่ำปลอดสารเคมีธรรมชาติ100% แทนผงชูรสและน้ำสต๊อก(น้ำซุป) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารประจำครัวโรงพยาบาล 
บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
Line id : OatEcho
Line@WFK7799W
คมชาญ 0867917007

     

Kuu Ne ได้รับการสนับสนุนจาก รพ.ราชวิถี โดยคุณลาวัลย์ หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ เป็น รพ.นำร่อง ต้นแบบ อาหารสุขภาพ ผลิตอาหารให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์บริโภค ตามวิสัยทัศน์ อาหารดีมีคุณภาพ วิชาการเป็นเลิศ เกิดสุขในองค์กร ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้กับโภชนาการประจำโรงพยาบาลทั่วประเทศ ได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ สู่ภาคปฏิบัติจริง โดยมีผลิตภัณฑ์ คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ โซเดียมต่ำปลอดสารเคมีธรรมชาติ100% เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารด้วย  ขอขอบพระคุณทุกท่านมาก ณ โอกาสนี้

 

โภชนากรโรงพยาบาล สามารถสั่งซื้อ Kuu Ne / Kuu Chef ได้นะ อยู่ในทะเบียนบัญชีรายชื่อวัตถุดิบในการประกอบอาหารของ กรมการแพทย์ และสำนักการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่ คุณคมชาญ เอกเตชวุฒิ 0867917007 บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด 
www.ptpfoods.com
www.facebook.com/kuunepage
Line id : OatEcho

Monday, May 4, 2015

นักพัฒนาพันธุ์พืชในสหรัฐกำลังปรับปรุงให้ผักมีรสชาดดีขึ้นและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น

นักพัฒนาพันธุ์พืชในสหรัฐกำลังปรับปรุงให้ผักมีรสชาดดีขึ้นและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น


ผู้บริโภคในสหรัฐต่างได้รับประโยชน์ด้านความสะดวกและราคาที่ถูกลงจากบรรดาร้านขายของชำระดับนานาชาติที่แข่งกันเปิดบริการและการนำเข้าผักผลไม้หลากหลายชนิดทำให้มีวางขายเกือบตลอดทั้งปี แต่ก็มีข้อด้อยเช่นกัน นั่นก็คือผลไม้อาจยังดิบอยู่หรือขาดรสชาด 
 
คุณ Mace เป็นกุ๊กประจำร้านอาหารที่มีระดับใรรัฐโอเรกอน เขาบอกว่าลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ล้วนแต่อยากรับประทานผักที่มีรสชาดดี และเป็นรสชาดตามธรรมชาติ  
คุณ Mace บอกว่าในช่วงเดือนนี้ ลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านจะเริ่มสังเกตุเห็นว่า ทางร้านเริ่มปรับประเภทของผักที่ใช้ปรุงอาหารจากผักฤดูหนาวเป็นผักในฤดูใบไม้ผลิ และในระยะยาว เขาหวังว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็มีการพัฒนาให้ผักมีรสชาดดีกว่าเดิม โดยเฉพาะมะเขือยาว อยากให้มีการพัฒนามะเขือยาวให้มีเปลือกที่บางลง นิ่มน่ากินมากขึ้นแทนที่จะมีเปลือกที่หนาและเหนียว

คุณ Mace เป็นกุ๊กคนหนึ่งที่เข้าร่วมในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาผักให้มีรสชาดดีขึ้น (the Culinary Breeding Network) ที่ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัย Oregon State University โครงการนี้ระดมความคิดจากผู้พัฒนาพันธุ์พืช ชาวนา กุ๊กและผู้พัฒนาเมล็ดพืชจากทั่วสหรัฐเพื่อหาทางพัฒนาผักชนิดต่างๆ ให้มีรสชาดดีขึ้นและให้วิตามินมากขึ้น
คุณ Jim Myers ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพันธุ์พืชที่มหาวิทยาลัยกล่าวว่าโครงการนี้ไม่ใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรมแต่อย่างใด แต่ใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์ผักด้วยวิธีการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิมและทางทีมงานมีพันธุ์พืชหลากหลายมากให้เลือกพัฒนา

เจ้าหน้าที่พัฒนาพันธุ์พืชในห้องแลปของคุณ Myers ทำการผสมเกสรของพืชข้ามสายพันธุ์กันเพื่อให้ได้ลักษณะเด่นตามต้องการ ในเรือนเพาะชำ บรรดานักวิจัยทำการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์ผักบล็อคโคลี่และถั่ว pole beans สำหรับพืชบางชนิดในเรือนเพาะชำ นักวิจัยต้องพันเทปปิดช่อดอกเอาไว้หลังทำการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีละอองเกสรของสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการเข้าไปปะปนในช่อดอกและทำการติดป้ายระบุรายละเอียดของสายพันธุ์ต่างๆ ของผักบล็อกโคลี่ที่นำไปผสมกัน
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้คือมุ่งเลือกเอาพันธุ์ผักที่ออกมาดีที่สุดไปปลูกเพื่อการค้า
ทางมหาวิทยาลัย Oregon State University ได้นำมะเขือเทศพันธุ์ใหม่หลายพันธุ์ออกมาวางตลาดแล้วที่ผลมะเขือเทศมีสีม่วงเข้มและมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าเดิม คุณ Myers กล่าวว่าทางโครงการเตรียมที่จะนำพริกหยวกฮาบาเนโร่ (habanero) ที่เผ็ดน้อยออกวางตลาดเป็นตัวต่อไป และเมื่อเร็วๆ นี้ คุณ Myers และทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองชิมพริกฮาบาเนโร่ดองหลากหลายสีที่พวกเขาเพาะพันธุ์ขึ้นมาเองในเรือนเพาะชำ 
คุณ Phil Simon นักพัฒนาพันธุ์ผักประจำหน่วยงานวิจัยทางการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐที่รัฐวิสคอนซิน เขาทำการพัฒนาพันธุ์แครอทให้ดีขึ้นมานาน 35 ปีแล้ว เขากล่าวว่าผู้บริโภคท้องถิ่นที่ต้องการผักที่มีคุณภาพหันมาซื้อผักที่ปลูกในท้องถิ่นกันมากขึ้นส่งผลให้ชาวนาในท้องถิ่นเริ่มเสาะหาพันธุ์พืชและผักที่หลากหลายมากขึ้นมาปลูกเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้บริโภคเหล่านี้ 
ที่มา : http://www.voathai.com/content/breeding-better-veggies-tk/2747219.html

ยาต้านฮิสตามีนแก้อาการแพ้ใช้บำบัดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ผลและราคาถูก

ยาต้านฮิสตามีนแก้อาการแพ้ใช้บำบัดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ผลและราคาถูก

ทีมนักวิจัยอเมริกันค้นพบว่ายาต้านฮิสตามีนสามารถบำบัดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ผลดี

Pills for Hepatitis C treatment

ยาคลอร์ไซคลิซีน (Chlorcyclizine HCL) เป็นยาต้านฮิสตามีนที่คิดค้นขึ้นราว 50 ปีที่แล้ว เพื่อใช้บำบัดอาการแพ้ 
แต่ทีมนักวิจัยที่ U.S. National Institute of Health แห่งสหรัฐได้ค้นพบว่ายาแก้แพ้ชนิดนี้และยาที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันอาจจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดการติดเชื้อไวรัสตับอับเสบชนิดซีได้ผลดี
ยาคลอร์ไซคลิซีนและยาในกลุ่มเดียวกัน บำบัดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ด้วยการบล็อกเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าไปก่อให้เกิดการติดเชื้อในเซลล์ 
คุณ Jake Liang ผู้อำนวยการฝ่ายโรคตับที่สถาบันโรคเบาหวาน โรคในระบบย่อยอาหารและโรคไตแห่งชาติ (NIH’s National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงวอชิงตัน กล่าวว่าในช่วงของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะแพร่เข้าไปในเซลล์ตัวใหม่ๆ ตลอดเวลา ทีมนักวิจัยคิดว่าหากป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ตัวใหม่ๆ หรือทำลายขั้นตอนการติดเชื้อได้สำเร็จ เซลล์ที่ติดเชื้อแล้วจะตายลงและไม่แพร่เชื้อต่อแก่เซลล์ข้างเคียง 
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และติดต่อผ่านทางเลือดที่ติดเชื้อ และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอาจจะเป็นสาเหตุของอาการตับล้มเหลว มะเร็งตับและอาการตับแข็ง มีคนหลายล้านคนทั่วโลกที่เป็นพาหะของโรคนี้และเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโรคนี้
คุณ Liang เน้นว่าปัจจุบันมีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพหลายวิธีด้วยกัน แต่ยาต่างๆ ที่ใช้ในการรักษามีราคาแพงมาก มีอาการข้างเคียงของยาและเชื้อโรคเริ่มต่อต้านยาที่ใช้รักษา นอกจากนี้ยาบำบัดเหล่านี้ยังใช้ได้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ HP เท่านั้น นี่ทำให้มีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาวิธีบำบัดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ค่าบำบัดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่ใช้ในปัจจุบันอยู่ที่ราว 84,000 ดอลล่าร์สหรัฐสำหรับการบำบัดที่นาน 12 สัปดาห์ ซึ่งแพงมากเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาคลอร์ไซคลิซีนที่ราคาเพียงเม็ดละ 50 เซ็นท์สหรัฐฯหรือราว 15 บาทเท่านั้น
ในขั้นต่อไป ทีมนักวิจัยวางแผนที่จะกำหนดให้ได้ว่าจะต้องใช้ยา คลอร์ไซคลิซีนในปริมาณเท่าใดในการบำบัดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine
ที่มา : http://www.voathai.com/content/hepatitis-antihistamine-treatment-tk/2744190.html

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More