www.facebook.com/kuunepage

..... คูเน่ คู่ครัว คู่มื้อสุขภาพ คู่คุณ

คูเน่ นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรส จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพ

.

Search This Blog

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา
อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

Tuesday, March 12, 2013

สารเคมีหลายชนิดมีผลกระทบต่อระบบต่อมฮอร์โมน


สารเคมีหลายชนิดมีผลกระทบต่อระบบต่อมฮอร์โมนในร่างกายและอาจมีผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพได้

    สุขภาพของคนเราขึ้นอยู่กับการทำงานอย่างเป็นปกติของระบบต่อม ที่ทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยฮอร์โมนบางชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานบางอย่างของร่างกาย อาทิ ควบคุมระบบเผาผลาญอาหาร การเจริญเติบโตและพัฒนาการ การนอนหลับและอารมณ์
     
    สารเคมีบางชนิดที่เรียกว่า endocrine disrupters สามารถไปรบกวนการทำงานของระบบผลิตฮอร์โมนจนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางสุขภาพได้

    ด็อกเตอร์มาเรีย เนียร่า ผู้อำนวยการฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่ามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นที่ยืนยันว่าโรคที่เกิดจากความผิดปกติในระบบผลิตฮอร์โมนกำลังเพิ่มมากขึ้น

    สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนและในภาคอุตสาหกรรม สารเคมีเหล่านี้เจือปนในสิ่งเเวดล้อมผ่านการปล่อยของเสียจากภาคอุตสาหกรรม จากชุมชนเมือง จากภาคการเกษตร และการเผาขยะหรือทิ้งของเสีย

    การได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในร่างกายอาจส่งผลให้ผู้ชายวัยหนุ่มเกิดปัญหาเชื้ออสุจิอ่อนแอและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ด็อกเตอร์เนียร่ากล่าวว่าผู้ชายที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลงมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก

    ด็อกเตอร์เนียร่าแห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่ายังพบว่าสารเคมีที่รบกวนระบบผลิตฮอร์โมนยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางระบบประสาทส่วนกลางในเด็ก รวมถึงผลเสียต่อพัฒนาการของสมองและยังพบด้วยว่าสารเคมีทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งในต่อมไทรอยด์ในกลุ่มคนงานที่ใช้ยาฆ่าแมลง

    รายงานชิ้นนี้ยังเน้นความกังวลต่อผลเสียของสารเคมีที่รบกวนต่อระบบฮอร์โมนต่อสัตว์ป่าด้วย โดยยกตัวอย่างว่าการปนเปื้อนของสารเคมีเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมในรัฐอาลัสก้า สหรัฐอเมริกา มีผลให้กวางมีความผิดปกติในระบบเจริญพันธุ์ เป็นหมันและทำให้เขากวางพัฒนาผิดรูปร่าง

    รายงานนี้เปิดเผยด้วยว่าสารเคมีจำพวกยาฆ่าแมลงดีดีที สารจำพวกพีซีบี และสารปรอทที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรนากทะเล กับสิงโตทะเลลดลง

    ผลการศึกษาของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาิติและองค์การอนามัยโลกออกข้อแนะนำหลายประการเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ ข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือการจัดหาวิธีทดสอบที่ครอบคลุมเพื่อระบุว่าสารเคมีชนิดใดบ้างที่มีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน เพื่อระบุแหล่งที่มาและการรับเข้าสู่ร่างกาย

    ที่มา :  http://www.voathai.com/content/unep-who-chemical-exposure-tk/1619021.html

    0 ความคิดเห็น:

    Post a Comment

    Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More