สมัยนี้ถ้าใครไม่มี ‘แอพ’ คงต้องเรียกว่า ตกเทรนด์
แต่ ‘แอพ’ ในที่นี้ ไม่ใช่แอ๊บแบ๊ว หรือแอ๊บสวย หากเป็น ‘แอพพลิเคชั่น’
ที่ช่วยให้คนยุคนี้สามารถทำสิ่งต่างๆ
ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สลับซับซ้อน ทั้งสร้างเอกสาร แก้ไขรูปภาพ
ฟังเพลง เช็กอีเมล์ เป็นต้น
เทคโนโลยีถ้าพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ก็จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล็งเห็นถึง ‘ประโยชน์’ ในเรื่องนี้
จึงร่วมกันลงนามทางวิชาการและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ
‘ยกระดับ’ คุณภาพชีวิตของคนในสังคม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สวทช. บอกว่า
สวทช.ดำเนินการเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ขาดเครือข่ายในการนำไปใช้งาน
วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำงานวิจัยไปสู่คนในสังคมโดยใช้เทคโนโลยี
เพราะปัจจุบันทุกพื้นที่มีอินเตอร์เน็ตใช้กันหมด
จะได้สร้างเสริมสิ่งดีและป้องกันสิ่งไม่ดีให้เรา
เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต
ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับสังคมไทย
“สวทช.กับสสส.จะร่วมพัฒนางานใน 3 ด้าน คือ
1.การพัฒนาเยาวชนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีในการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น
โครงการประกวดการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชน
2.การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น
การพัฒนาโปรแกรมบนมือถือให้บริการข้อมูลโภชนาการ การออกกำลังกาย
และการใช้ยาที่ถูกต้อง 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
เช่น ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับพิการและผู้สูงอายุ
โดยการพัฒนาชุดอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ใช้งานได้ทั้งจากสวิตช์ปกติ และควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ในรัศมี 20-30 เมตร
จากเครื่องติดตั้ง และพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
โดยติดตั้งอุปกรณ์เพื่อส่งสัญ ญาณเตือนภัย ในรูปแบบไซเรน กรณีขอความช่วยเหลือ
เพื่อแจ้งให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงรับทราบ เป็นต้น”
ด้าน ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.
กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเสริมสุขภาพปัจจุบันแพร่หลายในหลายประเทศ
ยืนยันจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชาชน 25 ล้านคนหรือเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์
จำนวนนี้มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมากถึงกว่า 1.2 แสนครั้งต่อเดือน
เฉลี่ยแล้ววันละ 40,600 ครั้ง ล่าสุดในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
ประเทศไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก หรือมีผู้ใช้กว่า 14 ล้านคน
และมีผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกกว่า 1 ล้านคน
สะท้อนว่าประชาชนค้นหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น
ท.พ.กฤษดากล่าวต่อว่า
จากข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า
ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านสร้างเสริมสุขภาพ เฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท
ขณะที่รายจ่ายด้านสุขภาพสูงมากกว่าปีละ 400,000 ล้านบาท
หากมีนวัตกรรมที่ช่วยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรได้ ก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพ
และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
“ขณะนี้สวทช.มีหลายโครงการที่เริ่มทำไปแล้ว
อย่างแอพพลิเคชั่นข้อมูลทางโภชนาการ ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลด ซึ่งจะนำมา
ทดลองใช้งานจริงกับเครือข่ายต่างๆ
ของสสส.ที่มีแกนนำเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่มีมากกว่า 30,000 คน ที่จะนำนวัตกรรม
หรืองานวิจัยที่สวทช.คิดค้นมาใช้งานจริง เพื่อนำไปสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคต
เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพบุคคล
และโครงการพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
ซึ่งการใช้เทคโนโลยีจะสามารถช่วยให้คุณภาพของประชาชนดีขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลขาดแคลนแพทย์ พยาบาล” ผู้จัดการสสส.กล่าว
สำหรับเทคโนโลยีระบบข้อมูลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่คิดค้นขึ้น
มีการพัฒนานำโปรแกรมไปใช้บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ที่มีระบบปฏิบัติการ Android
2.3 ขึ้นไป และ iOS 4.3 ดังเช่น แอพพลิเคชั่น ‘ยากับคุณ’ Ya&You
ที่สำหรับค้นหาข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
ซึ่งร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา
และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค
ด้วยแอพพลิเคชั่นนี้
คนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลยาและสุขภาพได้สะดวก รวดเร็ว
และเห็นผลการค้นเป็นภาษาไทยที่เข้าใจง่าย
และบุคลากรทางแพทย์ยังสามารถเข้าใช้ข้อมูลนี้
เพื่อช่วยในการสื่อสารกับผู้ป่วยได้ด้วย สามารถดาวน์โหลดแอพได้ที่
http://itunes.apple.com/us/app/yaandyou/id459400481?ls=1&mt=8
นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการเรื่อง
‘โภชนาการ’ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ด้วยโปร แกรม ‘บันทึกพฤติกรรมการกินอาหาร’
หรือ FoodiEat เป็นโปรแกรมสำหรับเก็บประวัติการกินอาหารในแต่ละมื้อของวัน
ผู้ใช้สามารถกรอกปริมาณแคลอรีของอาหารที่กิน
หรือเลือกค่าประมาณแคลอรีของอาหารยอดนิยมและเครื่องดื่มกว่า 200 รายการ
ซึ่งฐานข้อมูลนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโภชนาการ มหา วิทยาลัยมหิดล
ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ว่าในแต่ละ
วันกินอาหารอะไรไปบ้างและคิดเป็นพลังงานกี่แคลอรี
แต่หากอยากรู้ว่าร่างกายใช้พลังงานในแต่ละวันไปเท่าไหร่
หรือต้องการจะลดความอ้วน
แอพพลิเคชั่นนี้ยังมีระบบยังคำนวณค่าดรรชนีมวลกายและอัตราความต้องการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวันของผู้ใช้
ซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกับประวัติ การกินอาหารของโปรแกรมนี้
จะรู้ว่าอาหารที่กินเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายหรือไม่
แอพพลิเคชั่นนี้สามารถดาวน์ โหลดได้ที่
http://itunes.apple.com/us/app/foodieat/id457777854 ?ls=1&mt=8
เทคโนโลยีด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับพิการและผู้สูงอายุ คือเครื่องช่วยฟังดิจิตอลแบบพกพา รุ่น
PO2 ที่เนคเทคกับบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด ร่วมกันคิดค้นขึ้น
ซึ่งเครื่องช่วยฟังนี้สามารถเชื่อมต่อกับมือถือผ่านทางบลูทูธสำหรับผู้มีปัญหาการได้ยิน
เช่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการซึ่งจะช่วยยกระดับการได้ยินของผู้สูงอายุ
ให้ได้ยินชัดเจนมากขึ้น
ในอนาคตอาจมีการพัฒนาระบบสร้างเสริม
สุขภาวะให้ยั่งยืนต่อไป
ณัฐพงษ์ บุณยพรหม :ภาพจากสสส.
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment