กินอย่างไรไม่ให้อ้วน
การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
ขึ้นอยู่กับความสมดุลของพลังงานที่ได้รับจากการกินอาหารและพลังงาน
ที่ใช้ไปในการทำกิจกรรมต่างๆ
ถ้าพลังงานที่ได้จากการกินอาหารมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปในแต่ละวัน
พลังงานที่มากเกินนั้นจะสะสมเป็นไขมันไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย (body
fat) ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้นานๆ
จะเกิดโรคอ้วนตามมา
เราจะทราบว่าอ้วนหรือไม่ ได้จากการคำนวณหาค่า "ดัชนีมวลกาย" หรือที่มักเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษ ว่า BMI (ย่อมาจากคำว่า Body mass index) ซึ่งมีวิธีการคำนวณ ดังนี้คือ
การเทียบสูตร BMI
ดูจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง เช่น น้ำหนัก ๖๐ กิโลกรัม สูง ๑๗๐ เซนติเมตร หรือ ๑.๗๐
เมตร ดัชนีมวลกาย (BMI) = ๖๐/(๑.๗๐x๑.๗๐) = ๒๐.๗๖
เรามักได้ยินกันบ่อยว่า ให้ใช้น้ำมันพืชประกอบอาหารแทนน้ำมัน หรือไขมันที่ได้จากสัตว์ เนื่องจากมีคุณภาพของกรดไขมันที่ดีกว่า ทำให้บางคนเข้าใจผิดว่า กินน้ำมันพืชที่ดีแล้วไม่อ้วน ที่จริงแล้วน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ต่างก็ให้พลังงานที่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรระวังไม่กินไขมันทุกชนิดในปริมาณมากเกินไป ควรกินอาหารประเภทข้าว แป้ง ขนมปัง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ซึ่งเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกายแต่พอควร
ถึงแม้ว่าอาหารกลุ่มนี้ในปริมาณที่เท่ากัน จะให้พลังงานกับร่างกายประมาณครึ่ง หนึ่งของไขมัน แต่ถ้ากินมากเกินไปก็ทำให้ได้พลังงานเกิน และเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้มีปัญหาน้ำหนักตัวมากขึ้นได้ โดยทั่วไป
ควรกินผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น ส้ม ชมพู่ มะละกอ แตงโม ฝรั่ง แทนขนมหวานต่างๆ ผลไม้มีเส้นใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผลไม้ทุกชนิดให้สารคาร์โบไฮเดรตจำพวกน้ำตาลแก่ร่างกาย เช่นเดียวกับอาหารกลุ่มข้าว แป้ง จึงต้องระวังไม่กินมากจนเกินไป
ควรกินผลไม้สดทั้งผลมากกว่าการกินน้ำผลไม้คั้น เพื่อที่จะได้ใยอาหารที่มีอยู่ในผลไม้ด้วย การคั้นน้ำผลไม้เพื่อดื่ม ต้องใช้จำนวนผลไม้มากกว่าการกินผลไม้เป็นผล จึงอาจทำให้ได้รับพลังงานมากเกินไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการกินผลไม้กระป๋อง เพราะในผลไม้กระป๋องมักมีการเติมน้ำตาลในกระบวนการผลิต จะทำให้ได้น้ำตาลและพลังงานมากเกินกว่าร่างกายต้องการ
เนื้อสัตว์ควรเลือกชนิดไม่ติดมัน ไม่มีหนัง นำมาปรุง โดยวิธีการนึ่ง อบ หรือย่าง ไม่ควรทอดในน้ำมันมาก กินแต่พอควร ประมาณ ๘ - ๑๒ ช้อนกินข้าวต่อวัน ไม่ควรกินมากจนเกินไป เพราะเนื้อสัตว์นอกจากจะให้โปรตีนกับร่างกายแล้ว ยังมีไขมันแทรกอยู่ด้วยควรกินโปรตีนจากพืชจำพวกถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ แทนโปรตีนจากสัตว์ด้วย
ควรดื่มนมรสจืดพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย ในคนที่ดื่มนมได้ ควรดื่มนมรสจืดพร่องมันเนยวันละ ๑ - ๒ กล่อง เพราะมีปริมาณไขมันและพลังงานน้อยกว่า และไม่ควรดื่มนมปรุงแต่งรส เพราะจะทำให้ได้น้ำตาลและพลังงานเพิ่มขึ้น
ควรกินผักให้มากทุกมื้อและทุกวัน ผักให้วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหารกับร่างกาย เช่นเดียวกับผลไม้ แต่ให้พลังงานน้อยกว่า เพราะไม่ค่อยมีน้ำตาล เส้นใยอาหารในผักช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่ม เนื่องจากเส้นใยอาหารจะดูดน้ำไว้ ทำให้เกิดการพองตัว และใช้เวลาอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นเวลานาน ทำให้ไม่เกิดอาการหิวบ่อย ผักที่กินควรเป็นผักสด ลวก หรือต้ม มากกว่าผัดผักที่ใช้น้ำมันมาก หรือผักชุบแป้งทอด สำหรับคนที่ชอบกินผักในลักษณะผักสลัด ต้องระวังปริมาณน้ำสลัดต้องไม่ใส่มากเกินไป
ถึงแม้ว่าคนที่ต้องการลดน้ำหนักควรเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน ดังกล่าวแล้ว แต่ก็ควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๓ มื้อ และทุกหมวดหมู่ ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่ควรลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง การงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง มักจะทำให้ปริมาณอาหารที่กินในมื้อถัดไปมากขึ้นกว่าเดิม อาหารมื้อเช้าและกลางวันควรจะมีปริมาณมากกว่าอาหารมื้อเย็น เพื่อให้อาหารที่กินถูกเผาผลาญเป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ แทนที่จะเก็บสะสมไว้ ถ้าจะให้ดีหลังกินอาหารแต่ละมื้อควรเดินช้าๆ เพื่อย่อยอาหาร ไม่ควรที่จะนอนทันที
คนที่มีน้ำหนักเกิน ควรงดอาหารขบเคี้ยวทุกชนิด อาหารขบเคี้ยวจะมีฉลากข้อมูลโภชนาการอยู่ ฉะนั้นก่อนกินควรศึกษาดูว่า หนึ่งหน่วยบริโภคมีปริมาณเท่าไร ให้สารอาหารอะไรบ้าง และให้พลังงานกี่กิโลแคลอรี ถ้ามีการกินอาหารขบเคี้ยวมาก อาจต้องลดปริมาณอาหารที่กินในมื้อหลักลงบ้าง
การควบคุมปริมาณอาหารที่กินไม่ให้มากเกินไป เป็นหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนัก ดังนั้น จึงควรกินอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด และกินแค่พออิ่ม ไม่เสียดายอาหารที่เหลือ การตักอาหารหรือข้าวควรตักตามจำนวนที่ต้องกินเพียงครั้งเดียว ไม่ควรตักเพิ่มอีก ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารอาจใช้ขนาดเล็กลง เพื่อให้รู้สึกเหมือนกับว่ามีอาหารมาก
อย่าลืมว่าการออกกำลังกาย หรือการที่ทำให้ร่างกาย เรามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การเดินขึ้นลงบันได มีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมน้ำหนัก เพราะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงด้วย
การลดน้ำหนักเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา การสร้างทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมใหม่ ให้กำลังใจกับตนเอง มีความตั้งใจจริง และทำด้วยความจริงใจ พยายามฝึกให้เป็นนิสัยที่ต้องทำทุกวัน เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ตัวคุณมีรูปร่างและสุขภาพที่ดีขึ้น
แหล่งที่มา เว็บไซต์กระปุกดอทคอม
เราจะทราบว่าอ้วนหรือไม่ ได้จากการคำนวณหาค่า "ดัชนีมวลกาย" หรือที่มักเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษ ว่า BMI (ย่อมาจากคำว่า Body mass index) ซึ่งมีวิธีการคำนวณ ดังนี้คือ
ดัชนีมวลกาย
(BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ความสูง (กำลังสอง)
(เมตร)
- ค่า BMI ที่เหมาะสมของคนเอเชียควรอยู่ที่ ๑๘.๕ - ๒๒.๙ กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ถ้าค่า BMI น้อยกว่า ๑๘.๕ กิโลกรัม/ตารางเมตร แสดงว่าผอมเกินไป
- แต่ถ้าค่า BMI สูงกว่านี้ คือ ๒๓ - ๒๔.๙ กิโลกรัม/ตารางเมตร แสดงว่ามีน้ำหนักตัวเกิน
- ถ้าค่า BMI มากกว่า ๒๕ กิโลกรัม/ตารางเมตร แสดงว่าเป็นโรคอ้วน
- น้ำหนักตัวที่ดีจะอยู่ระหว่าง ๕๘ - ๖๐ กิโลกรัม
- แต่ถ้าน้ำหนักอยู่ระหว่าง ๖๒.๖๕ กิโลกรัม ก็แสดงว่ามีน้ำหนักเกิน และ
- ถ้าหนักมากกว่า ๖๕ กิโลกรัม ก็แสดงว่าอ้วน
การลดน้ำหนัก
น้ำหนักตัวเกินเกิดจากการได้พลังงานมากแต่ใช้น้อย
ดังนั้น การทำให้น้ำหนักลดลงก็ทำได้โดยทางกลับกัน คือ
ต้องทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานมากขึ้น
การลดน้ำหนักที่ดีควรลดลงอย่างช้าๆ เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัวได้ดี
โดยทั่วไปน้ำหนักควรลดลงสัปดาห์ละ ๑ กิโลกรัม
ซึ่งหมายถึงจะต้องลดพลังงานให้ได้สัปดาห์ละ ๓,๕๐๐ กิโลแคลอรี นั่นคือวันละประมาณ
๕๐๐ กิโลแคลอรี
กินเพื่อควบคุมน้ำหนัก
การรู้จักกินเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
ในการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกายสูงที่สุด
ไขมัน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๙ กิโลแคลอรี ดังนั้น
จึงควรหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารที่มีไขมันมาก จำพวกของทอดต่างๆ
เรามักได้ยินกันบ่อยว่า ให้ใช้น้ำมันพืชประกอบอาหารแทนน้ำมัน หรือไขมันที่ได้จากสัตว์ เนื่องจากมีคุณภาพของกรดไขมันที่ดีกว่า ทำให้บางคนเข้าใจผิดว่า กินน้ำมันพืชที่ดีแล้วไม่อ้วน ที่จริงแล้วน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ต่างก็ให้พลังงานที่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรระวังไม่กินไขมันทุกชนิดในปริมาณมากเกินไป ควรกินอาหารประเภทข้าว แป้ง ขนมปัง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ซึ่งเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกายแต่พอควร
ถึงแม้ว่าอาหารกลุ่มนี้ในปริมาณที่เท่ากัน จะให้พลังงานกับร่างกายประมาณครึ่ง หนึ่งของไขมัน แต่ถ้ากินมากเกินไปก็ทำให้ได้พลังงานเกิน และเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้มีปัญหาน้ำหนักตัวมากขึ้นได้ โดยทั่วไป
- ผู้หญิงที่ทำงานในสำนักงานไม่ควรกินเกิน ๗ - ๘ ทัพพีต่อวัน
- สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน ๑๐ - ๑๒ ทัพพีต่อวัน
ควรกินผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น ส้ม ชมพู่ มะละกอ แตงโม ฝรั่ง แทนขนมหวานต่างๆ ผลไม้มีเส้นใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผลไม้ทุกชนิดให้สารคาร์โบไฮเดรตจำพวกน้ำตาลแก่ร่างกาย เช่นเดียวกับอาหารกลุ่มข้าว แป้ง จึงต้องระวังไม่กินมากจนเกินไป
ควรกินผลไม้สดทั้งผลมากกว่าการกินน้ำผลไม้คั้น เพื่อที่จะได้ใยอาหารที่มีอยู่ในผลไม้ด้วย การคั้นน้ำผลไม้เพื่อดื่ม ต้องใช้จำนวนผลไม้มากกว่าการกินผลไม้เป็นผล จึงอาจทำให้ได้รับพลังงานมากเกินไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการกินผลไม้กระป๋อง เพราะในผลไม้กระป๋องมักมีการเติมน้ำตาลในกระบวนการผลิต จะทำให้ได้น้ำตาลและพลังงานมากเกินกว่าร่างกายต้องการ
เนื้อสัตว์ควรเลือกชนิดไม่ติดมัน ไม่มีหนัง นำมาปรุง โดยวิธีการนึ่ง อบ หรือย่าง ไม่ควรทอดในน้ำมันมาก กินแต่พอควร ประมาณ ๘ - ๑๒ ช้อนกินข้าวต่อวัน ไม่ควรกินมากจนเกินไป เพราะเนื้อสัตว์นอกจากจะให้โปรตีนกับร่างกายแล้ว ยังมีไขมันแทรกอยู่ด้วยควรกินโปรตีนจากพืชจำพวกถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ แทนโปรตีนจากสัตว์ด้วย
ควรดื่มนมรสจืดพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย ในคนที่ดื่มนมได้ ควรดื่มนมรสจืดพร่องมันเนยวันละ ๑ - ๒ กล่อง เพราะมีปริมาณไขมันและพลังงานน้อยกว่า และไม่ควรดื่มนมปรุงแต่งรส เพราะจะทำให้ได้น้ำตาลและพลังงานเพิ่มขึ้น
ควรกินผักให้มากทุกมื้อและทุกวัน ผักให้วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหารกับร่างกาย เช่นเดียวกับผลไม้ แต่ให้พลังงานน้อยกว่า เพราะไม่ค่อยมีน้ำตาล เส้นใยอาหารในผักช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่ม เนื่องจากเส้นใยอาหารจะดูดน้ำไว้ ทำให้เกิดการพองตัว และใช้เวลาอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นเวลานาน ทำให้ไม่เกิดอาการหิวบ่อย ผักที่กินควรเป็นผักสด ลวก หรือต้ม มากกว่าผัดผักที่ใช้น้ำมันมาก หรือผักชุบแป้งทอด สำหรับคนที่ชอบกินผักในลักษณะผักสลัด ต้องระวังปริมาณน้ำสลัดต้องไม่ใส่มากเกินไป
ถึงแม้ว่าคนที่ต้องการลดน้ำหนักควรเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน ดังกล่าวแล้ว แต่ก็ควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๓ มื้อ และทุกหมวดหมู่ ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่ควรลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง การงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง มักจะทำให้ปริมาณอาหารที่กินในมื้อถัดไปมากขึ้นกว่าเดิม อาหารมื้อเช้าและกลางวันควรจะมีปริมาณมากกว่าอาหารมื้อเย็น เพื่อให้อาหารที่กินถูกเผาผลาญเป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ แทนที่จะเก็บสะสมไว้ ถ้าจะให้ดีหลังกินอาหารแต่ละมื้อควรเดินช้าๆ เพื่อย่อยอาหาร ไม่ควรที่จะนอนทันที
คนที่มีน้ำหนักเกิน ควรงดอาหารขบเคี้ยวทุกชนิด อาหารขบเคี้ยวจะมีฉลากข้อมูลโภชนาการอยู่ ฉะนั้นก่อนกินควรศึกษาดูว่า หนึ่งหน่วยบริโภคมีปริมาณเท่าไร ให้สารอาหารอะไรบ้าง และให้พลังงานกี่กิโลแคลอรี ถ้ามีการกินอาหารขบเคี้ยวมาก อาจต้องลดปริมาณอาหารที่กินในมื้อหลักลงบ้าง
การควบคุมปริมาณอาหารที่กินไม่ให้มากเกินไป เป็นหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนัก ดังนั้น จึงควรกินอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด และกินแค่พออิ่ม ไม่เสียดายอาหารที่เหลือ การตักอาหารหรือข้าวควรตักตามจำนวนที่ต้องกินเพียงครั้งเดียว ไม่ควรตักเพิ่มอีก ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารอาจใช้ขนาดเล็กลง เพื่อให้รู้สึกเหมือนกับว่ามีอาหารมาก
อย่าลืมว่าการออกกำลังกาย หรือการที่ทำให้ร่างกาย เรามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การเดินขึ้นลงบันได มีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมน้ำหนัก เพราะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงด้วย
การลดน้ำหนักเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา การสร้างทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมใหม่ ให้กำลังใจกับตนเอง มีความตั้งใจจริง และทำด้วยความจริงใจ พยายามฝึกให้เป็นนิสัยที่ต้องทำทุกวัน เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ตัวคุณมีรูปร่างและสุขภาพที่ดีขึ้น
แหล่งที่มา เว็บไซต์กระปุกดอทคอม
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment